จังหวัดเพชรบูรณ์

http://kedpatcha.siam2web.com/

 ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์  

 

    ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ อยู่ในรูปวงกลมมี ลายกนกไทยล้อม โดยรอบ เพชรเจียรนัยเป็นรูปหัวแหวน รูปคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลงดินลอยอยู่บนท้องฟ้า เหนือภูเขา พื้นดินเป็น ไร่ยาสูบ และมีอักษรเขียนว่า “จังหวัดเพชรบูรณ์"
            ความหมายของตราประจำจังหวัด
            ความหมายเกี่ยวกับเพชร มีความหมาย 2 ประการ
            ประการที่ 1 เนื่องจากจังหวัดชื่อเพชรบูรณ์ ซึ่งแปลว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยเพชร และมีผู้เคย ขุดพบหินที่มีความแข็ง มากกว่าหินธรรมดา มีประกายแวววาวสุกใส เหมือนเพชรขุดได้ในเขตบ้านทุ่งสมอ นายาว อำเภอหล่มสัก หินที่ขุดได้นี้ เรียกกันว่า “เขี้ยวหนุมาณ” ซึ่งถือว่าเป็นหิน ตระกูลเดียวกันกับเพชร แต่มีความแข็งน้อยกว่าเพชร มีผู้เชื่อว่าเขี้ยวหนุมาณนี้ ถ้าทิ้งไว้ตามสภาพเดิมนานต่อไปอีกประมาณ 1,000 ปี จะกลาย เป็นเพชรจริง ๆ ได้และนอกจากนี้ยังมีผู้เชื่อว่า ภูเขาชื่อ “ผาซ่อนแก้ว” ในเขตอำเภอหล่มสักมีเพชร จึงตั้งชื่อว่า “ผาซ่อนแก้ว”
            ประการที่ 2 เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีค่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ไม้สักในดินมีแร่ธาตุที่มีค่า ตนประมาค่ามิได้ ซึ่งนับว่ามีค่าสูง เช่นเดียวกันกับค่าของเพชรทีเดียวและปรากฏกว่าในเขตตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านน้ำบ่อคำ” ซึ่งมี ประวัติว่าเคยเป็นที่ตั้งโรงหล่อ แร่ทองคำของฝรั่งชาวยุโรป ไม่ทราบสัญชาติ มีซากวัตถุก่อสร้างปรากฏร่องรอยเหลืออยู่ความหมายเกี่ยวกับภูเขา เนื่องจากด้วยพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีภูเขามากมายสลับซับซ้อนเป็นทิวเขาเทือกใหญ่เรียกว่า “เทือกเขาเพชรบูรณ์”ความหมายเกี่ยวกับไร่ยาสูบ
            เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์มียาสูบพื้นเมืองพันธุ์ดีเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่นานมาแล้ว มีรสเป็นเลิศกว่ายาสูบ ที่อื่น ทั้งหมดของเมืองไทย ยาสูบพันธุ์ดี ที่มีชื่อเสียงนี้ ปลูกได้ผลที่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ แต่ในปัจจุบันนี้ยาสูบพื้นเมืองชนิดนี้มี น้อยลง เพราะราษฎรชาวบ้านกลับมานิยมปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เล่ย์ เพื่อบ่มให้แก่สำนักงานไร่ยาสูบ เพราะได้ราคาดีกว่ายาสูบพื้นเมือง 

 

 

 เมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองโบราณ ที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า ใครสร้างกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิเคราะห์ว่าเพชรบูรณ์ถูกสร้างขึ้นในสองยุค ยุคแรกสร้างในสมัยสุโขทัยยุคที่สองสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชลายพระหัตถ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพเกี่ยวกับจังหวัดเพชรบูรณ์มีว่าแต่เดิมจะตั้งชื่อเมืองเป็นเพชรบูรให้ใกล้เคียงกับเพชรบุรี แปลว่า เมืองแข็ง แต่ชื่ออาจใกล้เคียงกันเกินไปจึงตั้งชื่อเป็น “เพชรบูรณ์” คำว่าเพชรบูรณ์มาจากคำว่าพืช
ซึ่งตรงกับเมืองโบราณของอินเดีย คือ พืชปุระ ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
        จังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ ๑๖ เทศบาล ๑๑๑ องค์การบริหารส่วนตำบล ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีประชากรทั้งสิ้น ๑,๐๔๐,๐๐๐ คน
(ข้อมูลปี พ.ศ. ๒๕๔๖) เป็นชาวไทยภูเขา ๑,๖๗๕คนสภาพเศรษฐกิจ ราษฎร ๙๐% มีอาชีพเกษตรกรรม มีผลิตผลการเกษตรเกือบทุกชนิด



    ข้าวโพดเป็นผลผลิตที่มากที่สุด รองลงมาคือ ข้าว พืชผักสวนครัว ยาสูบ ฝ้าย งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งอาชีพปศุสัตว์สภาพสังคม ชาวเพชรบูรณ์นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์
    การศึกษามีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา มีวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา ๕ แห่ง
วิทยาลัยพลศึกษา ๑ แห่ง สถาบันราชภัฏ ๑ แห่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เมืองเพชรบูรณ์ได้ยกฐานะเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาล
อำเภอหล่มสักยกฐานะเป็นจังหวัดหล่มสักต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพชรบูรณ์ถูกยุบจากมณฑลเป็นจังหวัดและจังหวัดหล่มสักก็ยุบมาเป็นอำเภอหล่มสัก เหมือนเดิม


 

******************

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 3,543 Today: 2 PageView/Month: 19

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...